ศัลยกรรมเสริมเต้านม
เพิ่มทรวดทรงของร่างกาย เพื่อให้มีรูปร่างและส่วนสัดที่เหมาะสม
เต้านมเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกความเป็นเพศหญิง ปัจจุบันผู้หญิงที่มีหน้าอกเล็กไม่สมส่วนกับรูปร่าง
คงไม่ปฏิเสธว่าถ้าเลือกได้ก็อยากให้หน้าอกดูดีขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็เพื่อแต่งกายได้อย่างที่ต้องการด้วยความมั่นใจ
แม้จะมีผลิตภัณท์ต่างๆช่วยในการเสริมแต่ง ก็ไม่ได้แก้ปัญหาให้ได้ทั้งหมด
การเสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน จึงเป็นคำตอบหนึ่งสำหรับผู้ที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเต้านมให้ดูดีและเป็นธรรมชาติ
ดังนี้
-
ผู้หญิงที่มีขนาดเต้านมเล็กไม่ได้สัดส่วนกับรูปร่าง หรือเป็นไปตามพันธุกรรม
คือมีเนื้อเต้านมน้อย
- ผู้ชายที่ต้องการมีเต้านมเหมือนผู้หญิง
- ต้องการให้เต้านมมีรูปทรงที่เต็มสมบูรณ์มากขึ้น
- กรณีที่เต้านมมีขนาดไม่เท่ากัน
- เต้านมและผนังทรวงอกผิดปรกติโดยกำเนิด
- เต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการคลอดบุตร
- เต้านมในวัยสูงอายุที่เริ่มมีการคล้อยปริมาณไม่มาก
- ใช้เสริมสร้างเต้านมใหม่หลังการผ่าตัดเนื้อเต้านมออกจากโรคมะเร็ง
(ภาพถ่ายก่อนทำ)
เต้านมประกอบไปด้วยส่วนของเนื้อเยื่อสร้างน้ำนมและเนื้อเยื่อไขมัน
วางอยู่บนกล้ามเนื้อทรวงอก ในวัยสาวอายุประมาณ 15 ปีเต้านมจะเจริญเต็มที่
ขนาดใหญ่มากน้อยขึ้นกับพันธุกรรม , ความสมบูรณ์ของร่างกาย
และระดับฮอร์โมน ถ้าอ้วนขึ้นเต้านมจะใหญ่ขึ้นบ้างจากส่วนของเนื้อเยื่อไขมัน
เวลาผอมก็จะมีขนาดเล็กลงได้เช่นกัน ส่วนกรณีช่วงที่มีบุตรเต้านมจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เนื้อเยื่อเต้านมสร้างน้ำนม
หลังการคลอดบุตรและหยุดให้นมบุตรต่อมน้ำนมหยุดผลิตนม ขนาดเต้านมจะลดลงเท่ากับก่อนมีบุตร
แต่อาจเกิดปัญหาเต้านมคล้อยเพราะเนื้อเยื่อที่เคยยืดมากๆถ้าหดตัวไม่ดีก็จะเกิดเป็นลักษณะที่เหี่ยวย่นแทน
ดังนั้นการเสริมเต้านมจะช่วยหนุนดันส่วนของเนื้อเต้านมให้ตั้งขึ้น
แลดูใหญ่ขึ้นมากน้อยแปรตามปริมาณที่ใช้ในการหนุน รูปร่างของถุงที่ใช้เสริมก็จะช่วยเติมเต็มในจุดที่ต้องการเน้น
เช่น บริเวณเนินอก ส่วนกรณีอกคล้อยไม่มากการเสริมจะช่วยดันตำแหน่งของลานนมและหัวนมขึ้น
มากน้อยขึ้นกับเทคนิคการจัดวางตำแหน่งของถุงซิลิโคน
เรื่องการทำเต้านมใหม่หลังตัดออกทันทีจากโรคมะเร็งก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบกระเทือนทางจิตใจของผู้ป่วยที่ถูกตัดเต้านม
แต่ต้องขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างดังจะกล่าวรายละเอียดในบทความเรื่องการเสริมสร้างเต้านมหลังการผ่าตัดมะเร็ง
(ภาพถ่ายหลังทำเสร็จทันที)
ประมาณ 1 ชั่วโมง
ดมยาสลบ
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ทันทีหลังฟื้นจากยาดมสลบประมาณ
2 ชั่วโมง แนะนำให้พักในโรงพยาบาลอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อให้ปลอดภัยจากผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดจากยาดมสลบ
เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ถ้าไม่มีอาการดังกล่าว
สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น ระยะพักตัวที่บ้านขึ้นกับลักษณะงาน
ถ้าไม่ใช่งานที่ต้องยกของหนักๆ หรือ ว่ายน้ำ สามารถทำงานได้เลย
โรงพยาบาล
(เพื่อดมยาสลบและดูแลหลังฟื้นจากยาสลบ)
( หลังทำ 1 สัปดาห์)
ผู้ที่ต้องการเสริมเต้านมควรจะประเมินขนาดที่ต้องการร่วมกับแพทย์ก่อนเช่น
ต้องการขนาดจากคัพเอ เป็นคัพบีหรือซี แพทย์จะประเมินและจัดเตรียมถุงซิลิโคนที่มีปริมาณใกล้เคียงขนาดที่ต้องการ
2 ขนาด จากนั้นแพทย์วิสัญญีจะทำการให้ยาสลบ ระหว่างที่ผ่าตัดผู้รับการเสริมเต้านมจะนอนหลับและอยู่ในความดูแลของวิสัญญีแพทย์โดยตลอด
แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณเต้านม 2 ข้าง และทำเครื่องหมายบนเต้านมและรักแร้
2 ข้าง ( กรณีที่เลือกแผลบริเวณนี้ ) เริ่มทำทีละข้าง โดยสร้างทางเข้าของถุงซิลิโคนที่แผลขนาด
3 เซนติเมตรสำหรับถุงซิลิโคนน้ำเกลือ และ 4 เซนติเมตรสำหรับถุงซิลิโคนเจล
แผลจะขนานและซ่อนในรอยย่นของรักแร้ หลังจากได้ทางเข้าแล้วจึงนำเครื่องมือทำโพรงหลังต่อกล้ามเนื้อหน้าอกหรือทำโพรงหลังต่อเนื้อเยื่อเต้านมบนกล้ามเนื้อหน้าอก
แพทย์จะประเมินขนาดโพรงและเลือกขนาดถุงซิลิโคนที่ได้สัดส่วนใส่เข้าในโพรงทางแผลที่เตรียมไว้
หลังทำการผ่าตัดเสร็จในหนึ่งข้าง ก็จะทำวิธีเดียวกันสำหรับเต้านมอีกด้าน
ก่อนจะเย็บปิดแผลทั้งสองด้าน แพทย์จะปรับเตียงผ่าตัดให้อยู่ในท่านั่ง
เพื่อตรวจรูปทรงให้ได้ใกล้เคียงกันมากที่สุด ( เต้านมของคนโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดที่แตกต่างกันได้เล็กน้อยก่อนผ่าตัด
รวมถึงระดับของปานนมและหัวนมด้วย ) จึงจะทำการเย็บปิดแผล และใช้เทปปิดแผลขนาดใหญ่จัดรูปทรงแทนบราชั่วคราว
สามารถทำทางเข้าของถุงซิลิโคนได้หลายตำแหน่ง ดังนี้
1.
แผลซ่อนในรอยพับของรักแร้ ( 2-3 เซนติเมตร ) เป็นวิธีที่นิยมทำมากที่สุด
ข้อดี
1. เมื่อแผลหายจะมองเห็นรอยน้อยมาก โอกาสเกิดแผลเป็นนูนมีน้อย
2. ไม่ผ่านและไม่ทำลายเนื้อเยื่อเต้านม ลดโอกาสการติดเชื้อ
ข้อเสีย
1. เป็นการเลาะโพรงจากระยะไกล ดังนั้นหากต้องการแก้ไขฐานนมหรือแก้ไขระดับใต้ราวนมร่วมด้วยจะทำได้ลำบากกว่าวิธีอื่นๆ
2.
แผลขนานขอบปานนม ( 3 เซนติเมตร )
ข้อดี
1. แผลอยู่ในรอยขอบของปานนมบนเนื้อเต้านมอยู่แล้ว ดังนั้นการเลาะโพรงจะสะดวกกว่าวิธีอื่นๆ
2. สามารถทำร่วมกับการตกแต่งแก้ไขปานนมในรายที่ต้องการ
ข้อเสีย
1. ต้องลงแผลผ่านเนื้อเต้านม เพิ่มโอกาสการติดเชื้อจากท่อน้ำนม
และมีโอกาสเกิดซีสต์ เยื่อพังผืดหดรั้งในเนื้อเยื่อเต้านม
ก่อให้เกิดความวิตกกังวลใจ
2. ไม่เหมาะกับปานนมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 เซนติเมตร
หรือมีปานนมสีเข้ม เพราะเวลาที่แผลหายแม้จะไม่เป็นแผลนูน
แต่อาจเห็นเป็นเส้นสีขาวตัดกับสีเข้มของปานนมได้
3.
แผลใต้ราวนม ( 3-4 เซนติเมตร ) ซ่อนในขอบล่างของบรา
ข้อดี
1. ผู้ที่มีเต้านมคล้อยเล็กน้อยจะบังแผลได้ดี
2. สามารถทำร่วมกับการตกแต่งระดับใต้ราวนมได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ
3. ไม่ผ่านและไม่ทำลายเนื้อเยื่อเต้านม ลดโอกาสการติดเชื้อ
ข้อเสีย
1. ในคนไทยมีโอกาสเกิดแผลเป็นนูน หรือมีสีเข้มจากการเสียดสีกับขอบบรา
(ภาพถ่ายแผลเมื่อ 1
สัปดาห์
หลังทำ)
1.
เตรียมบรานิ่มไม่มีขอบล่างแข็ง ขนาดประมาณใกล้เคียงกับเต้านมใหม่
เพื่อใช้ใส่หลังผ่าตัด
2. งดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
3. ตรวจเลือดดูระบบโลหิต การทำงานของไต เอ็กซเรย์ปอด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถ้าอายุมากกว่าหรือเท่ากับ
35 ปี
4. ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องผ่าตัด
ระยะแรก
1. แพทย์จะให้ยารับประทานต่อ 1 สัปดาห์ ให้ทานจนครบ
2. แผลผ่าตัดทุกบริเวณสามารถอาบน้ำถูสบู่ถูกแผลได้ทันที แพทย์จะนัดตัดไหมประมาณ
1 สัปดาห์ ในบางกรณีสามารถใช้วิธีไม่ตัดไหมได้ ช่วงแรกแผลจะเป็นรอยแดงบางๆ
ประมาณ 2-3 สัปดาห์จะจางลง และเหลือน้อยที่สุดเมื่อผ่านไปประมาณ
6 เดือนขึ้นไป
3. ไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก
เช่น การเต้นแอโรบิก หรือการว่ายน้ำปรมาณ 2 สัปดาห์
4. หมั่นนวดเต้านมอย่างน้อย 2 หนขณะอาบน้ำต่อวัน โดยแพทย์จะสอนวิธีการนวดก่อนออกจากโรงพยาบาล
5. ใส่บราได้เลยทันทีก่อนออกจากโรงพยาบาล และควรใส่ทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วง
3 สัปดาห์แรกหลังเสริม
6. หลังการเสริมควรรอ 6 เดือนก่อนที่จะตั้งครรภ์
7. หากมีก้อนที่ต้องตรวจหรือตัดชิ้นเนื้อบริเวณเต้านมหลังการเสริม
สามารถทำได้โดยปลอดภัย
ระยะหลัง
1. จำเป็นจะต้องนวดคลึงบ่อยๆอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาโพรงที่ใส่ถุงนมมีการหดรัดรอบถุง
ทำให้เต้านมแข็ง หดเป็นก้อน
1.
ตัวถุงปัจจุบันทำด้วยซิลิโคนมี 2 ลักษณะใหญ่ๆที่ยอมรับและอนุญาตให้ใช้โดยปลอดภัย
คือแบบเรียบ และแบบขรุขระหรือบางทีเรียกผิวทราย แบบขรุขระสร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการหดรั้งรอบถุงหลังการเสริมอย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากปัจจัยเดียว
( อ่านรายละเอียดในตอนท้าย ) ดังนั้นการเลือกใช้ส่วนหนึ่งก็ขึ้นกับประสบการณ์ของแพทย์ด้วย
2.
สารที่ใส่ข้างในถุง มี 2 สาร คือ
-
น้ำเกลือ
ข้อดี
1. ถ้าเกิดการรั่วซึ่งมักจะเป็นตำแหน่งรอยต่อของท่อฉีดน้ำเกลือ
จะทราบทันที และไม่มีอันตรายใดๆ เพราะร่างกายสามารถดูดซึมได้หมด
2. เมื่อมีท่อฉีดน้ำเกลือ ดังนั้นระหว่างที่ทำจะสามารถปรับขนาดได้ตามที่ต้องการ
เช่นกรณีที่เต้านมทั้งสองข้างมีขนาดที่ไม่เท่ากันตั้งแต่ก่อนเสริม
จะใช้ถุงขนาดเดียวกันแต่ใส่ปริมาณน้ำเกลือที่แตกต่างกันเล็กน้อยได้
ข้อเสีย
1. มีรอยต่อระหว่างถุงกับท่อที่ใช้ฉีดน้ำเกลือ ทำให้มีโอกาสรั่วบริเวณดังกล่าว
2. ในช่วง 1 สัปดาห์แรกเวลาคลำจะรู้สึกไม่นิ่มเท่าแบบถุงเจล
หลังจากนั้นจะดีขึ้นจนไม่แตกต่างกัน
-
ซิลิโคนเหลว
ข้อดี
1. ไม่มีรอยต่อใดๆให้เกิดการรั่ว ยกเว้นการรั่วซึมจากผิวถุง
แม้จะมีการปรับปรุงผิวให้เกิดการรั่วน้อยที่สุดแล้วก็ตาม
2. หลังใส่เวลาคลำจะรู้สึกนิ่มกว่าแบบถุงน้ำเกลือ ในระยะยาวไม่แตกต่าง
3. ราคาเท่ากันหรือถูกกว่าขึ้นกับบริษัทที่ผลิต
ข้อเสีย
1. มีขนาดแน่นอน ไม่สามารถปรับขนาดที่แตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างการเสริมได้
2. หากมีการรั่วซึม ซึ่งมักจะเป็นไปอย่างช้าๆ ดังนั้นจะทราบว่ารั่วเมื่อเกิดผลที่ตามมาคือ
เกิดการหดรั้งรอบถุงทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหดรัดเป็นกระเปาะ
ถ้าซึมถึงเนื้อเยื่อเต้านมจะทำให้เต้านมเป็นพังผืดผิดรูป
การผ่าตัดแก้ไขให้ดีเหมือนปกติทำได้ลำบาก
-
มีการดัดแปลงใช้ถุงเป็น 2 ชั้น ซิลิโคนอยู่ชั้นใน และหุ้มรอบนอกด้วยถุงน้ำเกลือ
ข้อดี
1. หากซิลิโคนรั่วจะอยู่ในถุงน้ำเกลือไม่ซึมเข้าเนื้อเยื่อ
2. มีความนิ่มมากกว่าถุงน้ำเกลืออย่างเดียว
ข้อเสีย
1. ราคาแพง
หมายเหตุ
ยังมีถุงอีกหลายลักษณะที่มีการผลิตมาใช้ โดยการดัดแปลงรูปร่าง
และลักษณะของถุง รวมทั้งสารในถุง แต่มีข้อแม้คือยังไม่ได้รับการอนุญาติจากองค์การอาหารและยาในประเทศไทย
รวมทั้งราคาที่ค่อนข้างสูง
ไม่ควรทำการเสริมเต้านมในภาวะต่อไปนี้
1.ไม่สามารถแก้ไขเต้านมที่คล้อยมากได้ ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อจัดทรงของเต้านม
1. มีปัญหาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือโรคปอดเรื้อรัง เพราะจะเสี่ยงต่อการดมยาสลบ
2. มีปัญหาระบบเลือดออกผิดปรกติ จะเกิดปัญหาเลือดออกมากและคั่งในโพรง
3. เป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้คงที่ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
4. หากต้องการเสริมหลังการตั้งครรภ์ ควรรออย่างน้อย 4 เดือนหลังการให้นมบุตร
รวมการรักษาทั้งหมด
(รวมถึง ค่าถุงซิลิโคน และ ค่าพักรักษาในโรงพยาบาล 1 คืน )
ถุงซิลิโคนแบบเรียบ ( น้ำเกลือหรือเจล ) 90,000 บาท
การดูแลแก้ไขผลผ่าตัดที่ไม่พึงประสงค์ |
การทำศัลยกรรมทุกชนิด
ย่อมมีโอกาสที่จะมีผลอันไม่ต้องการได้บ้าง( risks and complications)
ลักษณะที่เกิดขึ้น แตกต่างกันตามแต่วิธีการผ่าตัด
โอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้น และความสามารถที่จะให้การดูแลแก้ไขให้กลับมาใกล้เคียงปกติเมื่อเกิดขึ้น
มีความแตกต่างในแพทย์แต่ละคน
หากศัลยแพทย์ มี ความรู้ และ
มี ความระวัง ป้องกัน สิ่งที่อาจเกิดขึ้น
และ เลือกใช้วิธีที่เหมาะสม กับคุณ
โอกาสที่เกิดผลที่ไม่ต้องการย่อมน้อยลงมาก
ทางคลีนิคยินดีที่จะรับให้การแก้ไข หรือ คำปรึกษาและช่วยดูแล
เกี่ยวกับผลอันไม่พึงประสงค์หลังผ่าตัด
รายละเอียด ในวิธีการแก้ไขผลผ่าตัดที่ไม่ต้องการของ การผ่าตัดชนิดนี้
คลิ๊กที่นี่
รวมคำถามคำตอบเกี่ยวกับการผ่าตัดนี้
|